วันเสาร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2556

พันธุ์พืชอาหารสัตว์


พันธุ์พืชอาหารสัตว์

หญ้ากินนี (Panicum maximum ) 

                        มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนและกึ่งร้อนของทวีปอัฟริกา ปลูกกันแพร่หลายในทวีปอเมริกาใต้ เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ และในออสเตรเลีย สำหรับประเทศไทยนั้น เจ้าพระยาสุรวงศ์เป็นผู้นำเข้ามาปลูกใน พ.ศ. 2444 หญ้ากินนีเป็นหญ้าที่มีอายุหลายปี ลักษณะลำต้นตั้งเป็นกอสูงประมาณ 1.5 - 2.5 เมตร มีช่อดอกเป็นแบบ panicle ติดดอกและเมล็ดได้ แต่เมล็ดมีความงอกต่ำมากเพียง 12 – 20% ระบบรากเป็นรากฝอยแข็งแรงทนต่อสภาพแห้งแล้ง เจริญเติบโตได้ดีในที่มีปริมาณน้ำฝนตลอดปี 1,000 มิลลิเมตร ดินควรจะมีการระบายน้ำดี และมีความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง การใช้หญ้ากินนีทำเป็นทุ่งหญ้าสำหรับตัดให้สัตว์กิน หรือปล่อยสัตว์ลงไปแทะเล็มไม่ควรปล่อยให้สัตว์แทะเล็มหญ้าจนเหลือสูงจากพื้นต่ำกว่า 15 ซม. สามารถปลูกร่วมกับถั่วเซนโตรซีมาและซีราโตรได้ นอกจากนี้ยังปรับตัวได้ในสภาพร่มเงา จึงปลูกในสวนไม้ยืนต้นหรือสวนป่าได้ หญ้ากินนีที่ปลูกในสวนมะพร้าวบริเวณจังหวัดนราธิวาส ให้ผลผลิตน้ำหนักแห้ง 2,000 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี แต่ถ้าปลูกในสวนยางซึ่งร่มเงาหนาทึบกว่าจะให้ผลผลิต 700 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี สำหรับผลผลิตหญ้ากินนีที่ปลูกในที่โล่งแจ้งโดยทั่วไปได้ประมาณ 2,500 – 3,500 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี มีปริมาณโปรตีนประมาณ 8.2 เปอร์เซ็นต์

สายพันธุ์ควาย


 ควายไทย(ควายปลัก)
ควายไทยเป็นประเภทควายปลัก เป็นสัตว์ใช้แรงงาน มีลักษณะรูปร่างล่ำสัน ขนสีเทาดำ หรือสีเทาเข้ม เขาโค้งเป็นวงกว้่าง มีขนสีขาวรูปตัววี(V)ที่คอ เท้าทั้งสี่ข้างด่าง ชอบนอนแช่ปลักโคลน มีความแข็งแรงอดทน


ส่วนผสม(วัตถุดิบ)อาหารข้น

ส่วนผสม(วัตถุดิบ)อาหารข้น
ปลาป่นหรือเนื้อป่น,กากถั่วเหลืองหรือกากถั่วลิสง,รำข้าวสาลีหรือรำละเอียดหรือรำหยาบ,ข้าวโพดป่นหรือปลายข้าวหรือมันสำปะหลัง,กระถินป่น,เปลือกกุ้งป่นหรือเปลือกหอยป่น,ไขสัตว์หรือน้ำมันพืช,กากเนื้อในเมล็ดปามล์,วิตามิน,แร่ธาตุ,สารถนอมคุณภาพสัตว์

วันอาทิตย์ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2556

สายพันธุ์โคนม

 โคพันธุ์โฮลสไตน์ (Holestein-Friesian)
โคเพศผู้พันธุ์โฮลสไตน์-ฟรีเชี่ยน          โคพันธุ์โฮลสไตน์ หรือพันธุ์ฟรีเชี่ยน หรือพันธุ์ขาว-ดำ เป็นโคนมสายพันธุ์ยุโรป (Bos taurus)มีแหล่งกำเนิด
จากทางตอนเหนือของประเทศเนเธอร์แลนด์ เมื่อนำโคพันธุ์นี้ไปเลี้ยงในประเทศอังกฤษ จึงได้ชื่อว่าพันธุ์ฟรีเชี่ยน
(Friesian)  แต่ในทวีปยุโรปบางประเทศเรียกโคพันธุ์นี้ว่าพันธุ์ดำและขาว (Black and White) เป็นโคที่นิยมเลี้ยง
และแพร่กระจายอยู่ในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกมากที่สุด สามารถให้ปริมาณน้ำนมมากที่สุดในบรรดาโคนมทุกสายพันธุ์
   
     ในประเทศไทยได้มีการนำเข้ามาเลี้ยงตั้งแต่ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยหน่วยส่งบำรุงกำลังของกองทัพญี่ปุ่น
ต่อจากนั้นก็มีผู้นำเข้ามาจากฮ่องกงและออสเตรเลีย ฯลฯ กรมปศุสัตว์ได้นำโคพันธุ์โฮลสไตน์-ฟรีเชี่ยนมาใช้เป็นพันธุ์
หลักในการผลิตและปรับปรุงพันธุ์โคนมของประเทศหลังจากปี พ.ศ. 2499 เป็นต้นมา



โคเพศเมียและลูกโคพันธุ์โฮลสไตน์-ฟรีเชี่ยน
: ลักษณะประจำพันธุ์ :
        -มีสีขาวและดำตัดกันอย่างชัดเจน โดยการกระจายสีที่นิยมกันคือ บริเวณขาตั้งแต่ข้อเข่าลงไป ส่วนท้องและ
เต้านมเป็นสีขาว ส่วนศีรษะและลำตัวมีสีขาวสลับดำในสัดส่วนที่เหมาะสม
        -เป็นโคที่มีขนาดโครงร่าง (frame size) ใหญ่กว่าโคนมพันธุ์อื่น ๆ โคเพศเมียมีลักษณะลำตัวเป็นรูปทรง
สามเหลี่ยม กล่าวคือ ส่วนและไหล่เรียวบาง ส่วนท้ายโดยเฉพาะเต้านมมีขนาดใหญ่ได้รูปทรงงดงาม
        -สามารถให้น้ำนมโดยเฉลี่ยได้มากกว่า 8,000 กิโลกรัมต่อระยะการให้น้ำนม (305 วัน) และมีไขมันเฉลี่ย
3.5% ขึ้นไป
        -มีอายุถึงวัยเจริญพันธุ์ (Purberty) เร็วคือ ระหว่าง 12-15 เดือน สามารถผสมพันธุ์ได้ตั้งแต่อายุ 18 เดือน
สามารถให้ลูกตัวแรกและให้น้ำนมได้เมื่ออายุ 2 ปี โตเต็มที่เมื่ออายุ 6 ปี
        -โคเพศผู้โตเต็มที่มีน้ำหนัก 800-1,000 กิโลกรัม โคเพศเมียหนัก 600-700 กิโลกรัมเต้านมที่ใหญ่ทำให้สามารถผลิตน้ำนมได้มาก
        -ไม่ทนร้อน ถ้าอุณหภูมิของอากาศสูงเกินกว่า 26 องศาเซลเซียส โคพันธุ์นี้จะหอบ และไม่ค่อยกินอาหาร
ทำให้ปริมาณน้ำนมลดลง
        -ไม่ทนแมลง โดยเฉพาะเห็บ มักป่วยเป็นโรคพยาธิในเม็ดเลือด (Blood parasite)ได้ง่าย
v
v
v
v


สายพันธุ์โคเนื้อ

 โคพันธุ์ชาโรเลส์(Charolais)
โคเพศผู้พันธุ์ชาโรเลส์โคพันธุ์ชาโรเลส์(Charolais) เป็นโคสายพันธุ์ยุโรป (Bos taurus) ได้รับการเรียกชื่อตามแหล่งกำเนิด  คือ
เมืองชาโรเลส์(Charolles) ในแคว้นเบอร์กันดี (Burgandy)ทางตอนกลางของประเทศฝรั่งเศส ในระหว่างปี ค.ศ.
ี1850-1880 มีการนำโคพันธุ์ชอร์ทฮอร์น (Shorthorn) มาผสมข้ามพันธุ์เพื่อปรับปรุงให้มีลักษณะของโคเนื้อที่ดี
ียิ่งขึ้น ได้มีการยอมรับเป็นพันธุ์โคอย่างเป็นทางการในปี ค.ศ. 1864 และสามารถจัดเป็นพันธุ์แทและจดทะเบียน
้ลักษณะสายพันธุ์มาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1887 โคพันธุ์ชาโรเลส์เป็นพันธุ์หลักของประเทศฝรั่งเศสที่ใช้ผลิตเป็นพ่อแม่พันธุ์
หรือเป็นโคขุนส่งออกไปขายยังประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก โคพันธุ์ชาโรเลส์ได้มีการนำเข้ามาในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ.
2515
โคพันธุ์ชาโรเลส์เป็นโคที่มีคุณสมบัติในการถ่ายทอดพันธุกรรมที่ดีมากที่สุดพันธุ์หนึ่ง เป็นที่ยอมรับกันมากในแหล่งเลี้ยง
โคเนื้อทั่วโลกว่า สามารถให้ลูกผสมที่มีคุณลักษณะทางเศรษฐกิจดีเด่นหลายประการ เช่น อัตราการเจริญเติบโตเร็ว
มีโครงร่างที่ใหญ่ มีประสิทธิภาพการแลกเปลี่ยนอาหาร (Feed conversion)สูง และสร้างเนื้อคุณภาพ
ดีได้มาก ฯลฯ
    ค่าเฉลี่ยต่าง ๆ เกี่ยวกับลักษณะการเจริญเติบโตและการสร้างเนื้อของโคพันธุ์ชาโรเลส์ ซึ่งศึกษาจากประเทศฝรั่งเศส พอสรุปได้ดังนี้
v
v
v

วันเสาร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2556

งานเกษตรอีสานใต้ ม.อุบลราชธานี 1-10 พ.ย.2556


          เดิน เดิน เดิน...ชวนกันไปเดินถนนสายเกษตร ของคนรักเกษตร คนชอบธรรมชาติ สบายๆ ในงานเกษตรอีสานใต้ ม.อุบลราชธานี 1-10 พ.ย.2556


ตักบาตรเทโว (Tak Bat Devo )หมายถึงการทำบุญตักบาตร ในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 เนื่องในโอกาสที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากเทวโลก คำว่า เทโว เรียกกร่อนมาจากคำว่า เทโวโรหณะ (เทว+โอโรหณ) ซึ่งแปลว่า การเสด็จลงจากเทวโลก