วันอาทิตย์ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2556

สายพันธุ์โคเนื้อ

 โคพันธุ์ชาโรเลส์(Charolais)
โคเพศผู้พันธุ์ชาโรเลส์โคพันธุ์ชาโรเลส์(Charolais) เป็นโคสายพันธุ์ยุโรป (Bos taurus) ได้รับการเรียกชื่อตามแหล่งกำเนิด  คือ
เมืองชาโรเลส์(Charolles) ในแคว้นเบอร์กันดี (Burgandy)ทางตอนกลางของประเทศฝรั่งเศส ในระหว่างปี ค.ศ.
ี1850-1880 มีการนำโคพันธุ์ชอร์ทฮอร์น (Shorthorn) มาผสมข้ามพันธุ์เพื่อปรับปรุงให้มีลักษณะของโคเนื้อที่ดี
ียิ่งขึ้น ได้มีการยอมรับเป็นพันธุ์โคอย่างเป็นทางการในปี ค.ศ. 1864 และสามารถจัดเป็นพันธุ์แทและจดทะเบียน
้ลักษณะสายพันธุ์มาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1887 โคพันธุ์ชาโรเลส์เป็นพันธุ์หลักของประเทศฝรั่งเศสที่ใช้ผลิตเป็นพ่อแม่พันธุ์
หรือเป็นโคขุนส่งออกไปขายยังประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก โคพันธุ์ชาโรเลส์ได้มีการนำเข้ามาในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ.
2515
โคพันธุ์ชาโรเลส์เป็นโคที่มีคุณสมบัติในการถ่ายทอดพันธุกรรมที่ดีมากที่สุดพันธุ์หนึ่ง เป็นที่ยอมรับกันมากในแหล่งเลี้ยง
โคเนื้อทั่วโลกว่า สามารถให้ลูกผสมที่มีคุณลักษณะทางเศรษฐกิจดีเด่นหลายประการ เช่น อัตราการเจริญเติบโตเร็ว
มีโครงร่างที่ใหญ่ มีประสิทธิภาพการแลกเปลี่ยนอาหาร (Feed conversion)สูง และสร้างเนื้อคุณภาพ
ดีได้มาก ฯลฯ
    ค่าเฉลี่ยต่าง ๆ เกี่ยวกับลักษณะการเจริญเติบโตและการสร้างเนื้อของโคพันธุ์ชาโรเลส์ ซึ่งศึกษาจากประเทศฝรั่งเศส พอสรุปได้ดังนี้
v
v
v

น้ำหนักแรกเกิด39-44กิโลกรัมโครุ่นหนุ่มสาวพันธุ์ชาโรเลส์
น้ำหนักหย่านม(205วัน)212-224กิโลกรัม
โคเพศผู้อายุ 1 ปี มีน้ำหนัก506-550กิโลกรัม
น้ำหนักซาก300กิโลกรัม
โคเพศผู้อายุ 2 ปี มีน้ำหนัก650กิโลกรัมการเลี้ยงแบบปล่อยทุ่ง
น้ำหนักซาก400กิโลกรัม
อัตราการเจริญเติบโตต่อวัน1.31-1.43กิโลกรัม
โคเพศเมียอายุ 2 ปี (วัยเจริญพันธุ์)หนัก600กิโลกรัม
โคเพศเมียและลูกโคพันธุ์ชาโรเลส์        ดังข้อมูลเบื้องต้นจะเห็นได้ว่า โคพันธุ์ชาโรเลส์เป็นโคที่เจริญเติบโตได้เร็ว แม่โคเลี้ยงลูกเก่ง คุณภาพซากดี แต่
เปอร์เซ็นต์ความชุ่มฉ่ำของเนื้อไม่ค่อยดี มีอายุถึงวันเจริญพันธุ์เป็นสัดช้า และมักมีปัญหาคลอดลูกยาก ระบบสืบพันธุ์ไม่
ค่อยดี จากที่ได้กล่าวแล้วว่า โคพันธุ์ชาโรเลส์เป็นโคในถิ่นทางยุโรป ซึ่งสภาพภูมิอากาศเป็นแบบหนาวเย็น ดังนั้น เมื่อ
นำเข้ามาเลี้ยงในประเทศไทย ซึ่งมีสภาพภูมิอากาศเป็นแบบร้อนชื้น อัตราการเจริญเติบโตจะไม่เท่ากับที่แสดงข้างต้น
เนื่องจากเมื่อนำเข้ามาเลี้ยงในประเทศไทยโคพันธุ์นี้จะหอบ กินอาหารลดลงหรือไม่กินอาหาร สภาพร่างกายจะค่อย ๆ
ทรุดโทรมลง พร้อมทั้งโคพันธุ์นี้ไม่ทนต่อแมลงต่าง ๆ ดังนั้น จึงไม่เหมาะสมที่จะนำพันธุ์แท้มาเลี้ยงในประเทศไทย
ในผลิตโคขุนจำหน่าย มักใช้พ่อโคพันธุ์ชาโรเลส์นี้ ผสมกับแม่พันธุ์พื้นเมืองหรือบราห์มัน ลูกที่เกิดมาจะมีอัตราการ
เจริญเติบโตต่อวันดี ซึ่งน้ำเชื้อโคพันธุ์ชาโรเลส์นี้ ทางราชการมีให้บริการผสมเทียมอยู่แล้ว โดยเฉพาะที่สำนัก
เทคโนโลยีชีวภาพการผลิตปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์
: ลักษณะประจำพันธุ์ :โคเพศผู้พันธุ์ชาโรเลส์
      -สีขาว ขาวเทา จนถึงสีครีมหรือสีฟางตลอดลำตัว
      -โครงร่างเป็นรูปสี่เหลี่ยม ช่วงลำตัวยาวและแน่นทึบ กล้ามเนื้อส่วนสันหลัง ช่วงต้นขาและไหล่เจริญดีมาก
      -ศีรษะเป็นรูปทรงสามเหลี่ยมมีขนาดค่อนข้างเล็กเมื่อเทียบกับส่วนคอที่หนาและมีกล้ามเนื้อมาก
      -โคเพศผู้โตเต็มที่มีส่วนสูงเฉลี่ย 150-155 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 1,100-1,200 กิโลกรัม
      -โคเพศเมียโตเต็มที่มีส่วนสูงเฉลี่ย 140-143 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 700-750 กิโลกรัม

      โคพันธุ์อเมริกันบราห์มัน (American Brahman)
        โคพันธุ์อเมริกันบราห์มัน (American Brahman) เป็นโคเนื้อเมืองร้อนสายพันธุ์โคอินเดีย (Bos
indicus) ได้รับการปรับปรุงพันธุ์จากประเทศอเมริกาโดยนำไปปรับปรุงพันธุ์ทางตอนใต้ของอเมริกา ซึ่งเป็น
แถบที่มีอากาศร้อนและมีเห็บมาก โคพันธุ์นี้ถูกปรับปรุงพันธุ์ขึ้นมาจากโคพันธุ์ในประเทศอินเดีย เช่น กูจาราต,
เนลลอร์ และเกอร์รี่ กับพันธุ์อินดูบราซิลจากประเทศบราซิล ดังนั้น จึงตั้งชื่อว่าบราห์มัน ซึ่งแผลงมาจากคำว่าพราหมณ์
เพื่อเป็นเกียรติแก่ประเทศอินเดีย และใส่อเมริกันไว้ข้างหน้า เพื่อให้ทราบว่าปรับปรุงพันธุ์จากประเทศอเมริกา ทาง
กรมปศุสัตว์ได้ทดลองนำเข้าโคพันธุ์นี้ครั้งแรกจากประเทศอเมริกาเมื่อปี พ.ศ. 2497 หลังจากนั้นก็มีการนำเข้า
เป็นระยะ ๆ ทั้งจากหน่วยงานราชการและเอกชน ปัจจุบันเป็นที่นิยมของเกษตรอย่างมากโดยเฉพาะภาคอีสาน อีกทั้ง
ยังนิยมใช้เป็นโคพื้นฐานในการผสมพันธุ์กับโคเนื้อสายพันธุ์ยุโรปอื่น ๆ เนื่องจากสามารถเจริญเติบโตได้ดีในสภาพ
ภูมิอากาศแบบเมืองร้อนและมีความทนทานต่อโรคและแมลงดี เกิดเป็นโคพันธุ์ผสมที่ดีเด่นได้หลากหลายเช่น โคพันธุ์
ชาร์เบรย์ (Chabray), พันธุ์แบรงกัส(Brangus), พันธุ์บราห์ฟอร์ด(Brahford),
ซิมบราห์(Simbrah) ฯลฯ
โคบราห์มันถ้าเลี้ยงเป็นโคขุนด้วยอาหารที่มีโปรตีนมากกว่า 16% จะสามารถโตได้วันละประมาณ 1 กิโลกรัม
และเมื่อผสมพันธุ์กับโคพันธุ์ยุโรป เช่น ชาร์โรเลส์ ลูกผสมที่เกิดมาถ้าเลี้ยงด้วยอาหารที่มีโปรตีนมากกว่า 16% จะ
สามารถโตได้ถึงวันละ 1.3 กิโลกรัม เปอร์เซ็นต์ซาก 60%
โคเพศผู้พันธุ์อเมริกันบราห์มัน
โคเพศผู้พันธุ์อเมริกันบราห์มันแดง
การเลี้ยงโคแบบมีตัวผู้คุมฝูง: ลักษณะประจำพันธุ์ :
        -รูปร่างสูงใหญ่ ลำตัวกว้างและค่อนข้างยาว
        -มีตะโหนกใหญ่ มีเหนียงใต้คอและหนังท้องหย่อน ผิวหนังยืดหยุ่นดี หูยาวและปรก สันหลังตรง
        -มีสีขาว หรือเป็นสีเทาอ่อน หรือเทาเข้ม หรือสีออกแดงหรือสีดำ โดยอาจมีสีเหลือบเข้มเป็นบางส่วน เช่น
แนวสันกลางหลัง หรือสะโพก
        -น้ำหนักแรกคลอดประมาณ 28 กิโลกรัม
        -โคเพศผู้โตเต็มที่มีน้ำหนักประมาณ 800-1,200 กิโลกรัม
        -โคเพศเมียมีตะโหนกขนาดเล็กกว่าโคเพศผู้ มีน้ำหนักประมาณ 550-800 กิโลกรัม
      โคพันธุ์เฮียร์ฟอร์ด(Hereford)
โคเพศผู้พันธุ์เฮียร์ฟอร์ด  โคพันธุ์เฮียร์ฟอร์ด(Hereford) มีถิ่นกำเนิดจากประเทศอังกฤษ จัดเป็นโค
ที่มีขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ โคเพศผู้มีน้ำหนักเฉลี่ย 1,000 กิโลกรัม
โคเพศเมียมีน้ำหนัก 800 กิโลกรัม รูปร่างเตี้ยและสั้น และมีสีขาวบริเวณหน้า
หน้าอก เหนียงคอ พื้นท้อง โคพันธุ์นี้มักมีสุขภาพทางเพศดี สามารถให้ลูกได้
มากกว่าโคยุโรปพันธุ์อื่น ๆ แต่คุณภาพซากมักจะสู้โคยุโรปพันธุ์อื่น ๆ ไม่ได้
โคเพศเมียพันธุ์เฮียร์ฟอร์ด
      โคพันธุ์ชอร์ทฮอร์น(Shorthorn)
     โคพันธุ์ชอร์ทฮอร์น(Shorthorn) เป็นโคที่ได้รับการปรับปรุงพันธุ์จากประเทศอังกฤษทางตอนเหนือ เป็น
โคขนาดกลาง โคเพศผู้มีน้ำหนักเฉลี่ย 850 กิโลกรัม โคเพศเมียมีน้ำหนักเฉลี่ย 600 กิโลกรัม มีเขาสั้น ขนหยิก
หน้าสั้น คอสั้น รูปร่างเป็นสี่เหลี่ยม ลำตัวกว้างลึก ลำตัวสีแดงขาวหรือสีแดงแกมขาว
โคเพศผู้พันธุ์ชอร์ทฮอร์น
      โคพันธุ์แองกัส(Angus)
โคเพศผู้พันธุ์แองกัส     โคพันธุ์แองกัส(Angus) มีถิ่นกำเนิดอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของ
ประเทศสก๊อตแลนด์ เป็นโคขนาดกลางถึงเล็ก โคเพศผู้มีน้ำหนักประมาณ 900
กิโลกรัม โคเพศเมียมีน้ำหนักประมาณ 600 กิโลกรัม โคพันธุ์นี้จะมีสีดำตลอด
ตัว ไม่มีเขา ถึงวัยเจริญเร็ว แม่โคเลี้ยงลูกเก่ง โคพันธุ์นี้มีไขมันแทรกใน
กล้ามเนื้อมากกว่าพันธุ์อื่น ๆ ทำให้เนื้อมีคุณภาพดีเยี่ยม แต่มีข้อเสียคือ
เนื่องจากมีขนาดเล็กอัตราการเจริญเติบโตหลังหย่านมไม่ดีนัก พร้อมทั้ง
ปรับตัวเข้ากับสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย คือ ร้อนชื้นไม่ดี
โคเพศเมียพันธุ์แองกัส
      โคพันธุ์ลิมัวซิน(Limousin)
โคเพศผู้พันธุ์ลิมัวซิน     โคพันธุ์ลิมัวซิน(Limousin) เป็นโคที่มีถิ่นกำเนิดจากประเทศฝรั่งเศส
นำเข้าประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ.2520 โดย กรป.กลาง  (นิตยสารโคบาล
แมกกาซีน ปีที่ 2 ฉบับที่ 16 เดือน พฤศจิกายน 2548)   เป็นโคขนาดกลาง
ถึงใหญ่ โคเพศผู้หนักประมาณ 1,000 กิโลกรัม โคเพศเมียหนักประมาณ
650 กิโลกรัม มีสีเหลืองอ่อนตลอดลำตัว บริเวณขอบตาและจมูก สีจะอ่อน
กว่าบริเวณลำตัว ลำตัวยาว หัวจะสั้น หน้าผากกว้าง จมูกกว้าง เขาขนานกับ
พื้นและปลายจะโค้งงอขึ้นข้างบน อกกลม ซี่โครงโค้งมีกล้ามเนื้อหลังเต็ม
บริเวณสะโพกมีกล้ามเนื้อมาก อัตราการเจริญเติบโตดี ลูกแรกเกิดมีน้ำหนักสูง
คุณภาพซากดีปานกลาง มีเนื้อแดงมากแต่ความชุ่มฉ่ำมีน้อย
โคลูกผสมพันธุ์ลิมัวซีนในประเทศไทย
      โคพันธุ์เดร้าท์มาสเตอร์ (Droughtmaster)
โคเพศผู้พันธุ์เดร้าท์มาสเตอร์       โคพันธุ์เดร้าท์มาสเตอร์ (Droughtmaster) มีแหล่งกำเนิดอยู่ในรัฐควีนส์แลนด์ ออสเตรเลีย เกิดจากการ
ผสมข้ามพันธุ์ระหว่างโคเนื้อสายพันธุ์ยุโรป (Bos taurus)ได้แก่ พันธุ์เดวอน, ชอร์ทฮอร์น, เฮียร์ฟอร์ด
กับโคเนื้อสายพันธุ์อินเดีย (Bos indicus)ได้แก่พันธุ์อเมริกันบราห์มัน และมีสายเลือดพันธุ์ซานตา เกอร์ทรูดิส
ผสมอยู่ด้วย ในประเทศไทยได้มีการสั่งนำเข้ามาเลี้ยงจากประเทศออสเตรเลีย เมื่อปี พ.ศ. 2527 ด้วยเงินยืมจาก
กองทุนเกษตรกร นำมาเลี้ยงไว้ที่สถานีบำรุงพันธุ์สัตว์ทับกวาง จ.สระบุรี

: ลักษณะประจำพันธุ์ :
    -ทนร้อนได้ดี เนื่องจากมีต่อมเหงื่อในตัวมาก พิเศษกว่าวัวพันธุ์อื่น ผิวหนังขับเหงื่อได้ดีพอ ๆ กับต่อมน้ำลาย ช่วยให้ขับเหงื่อเพื่อระบายความร้อนออกจากตัว
ได้ง่าย จึงทนต่อสภาพอากาศร้อนได้ดีมาก
    -ผิวสีแดง สามารถจะป้องกันรังสีแสงแดดที่แผดจ้า อันเป็นสาเหตุที่จะทำให้วัวเกิดโรคก้อนเนื้อในดวงตา(Eye Cancer)และโรคเยื่อตาอักเสบ(Pink eye)
    -คุณภาพเนื้อ เป็นเนื้อคุณภาพดี นุ่มไม่เหนียว สีแดงสด สันนอกและสันในมีเนื้อแดงมาก
    -กินอาหารเก่ง ช่วยให้มีอัตราการเติบโตที่รวดเร็ว
    -เหมาะสมทุกพื้นที่ เดร้าท์มาสเตอร์ถูกพัฒนาเพื่อให้อยู่ได้ในทุกสภาพพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นประเทศพัฒนาแล้วหรือประเทศกำลังพัฒนาทั่วแถบแปซิฟิค
และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
    -เลี้ยงง่ายโตเร็ว มีความสมบูรณ์พันธุ์เร็ว สามารถเลี้ยงปล่อยให้พื้นที่แห้งแล้ง หากินหญ้าตามธรรมชาติที่มีคุณค่าต่ำได้อย่างไม่มีปัญหา
    -ให้ลูกดก กลับเป็นสัดหลังคลอดเร็ว ความสมบูรณ์พันธุ์ดี ผสมติดง่าย เปอร์เซ็นต์การผสมติด 81-92 เปอร์เซ็นต์ ทำให้ได้ลูกดกทุกปี
    -เลี้ยงลูกเก่ง มีน้ำนมมาก ช่วยให้ลูกเจริญเติบโตเร็ว มีน้ำหนักเมื่อหย่านมสูง เฉลี่ยอัตราการรอดของลูกเกินกว่า 80 เปอร์เซ็นต์
 พันธุ์กำแพงแสน (Kampangsan)
  1. ถิ่นกำเนิด ประเทศไทย ได้ปรับปรุงพันธุ์โดยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพง จังหวัดนครปฐม โดยให้มีสายเลือดโคพื้นเมือง 25% โคพันธุ์อเมริกันบรามันห์ 25% และโคพันธุ์ชาร์โรเล่ส์ 50%
     
  2. สีและลักษณะประจำพันธุ์ เป็นโคขนาดปานกลาง ลำตัวสีขาว สีครีมไป จนถึงสีเหลืองอ่อน เหนียงคอและหนังหุ้มลึงค์หย่อนยานเล็กน้อย
     
  3. น้ำหนัก เพศผู้โตเต็มที่มีน้ำหนักประมาณ 800 - 900 กิโลกรัม เพศเมียโตเต็มที่มีน้ำหนักประมาณ 500 - 600 กิโลกรัม
     
  4. ประเมินพันธุ์ ลูกโคมีลำตัวสีขาว สีครีมจนถึงสีเหลืองอ่อน มีเหนียงคอ และหนังหุ้มลึงค์หย่อนยานเล็กน้อยและมีลักษณะโครงร่างเข้ามาตรฐาน สามารถนำไปจดทะเบียนเป็นโคพันธุ์กำแพงแสนได้ จากสมาคมโคเนื้อกำแพงแสนเป็นโคในระดับ D1 (Development ที่1) และต้องผสมแบบยกระดับสายเลือดต่อไปอีก 4 ชั่ว จึงจะเป็นโคพันธุ์แท้
     
  5. ข้อดี มีความทนต่ออากาศร้อนและโรคแมลงเมืองร้อนได้ดี

พันธุ์ฮินดูบราซิล (Indu brazil) หรือ (Hindu brazil)
  • ถิ่นกำเนิด เป็นโคมีเชื้อสายโคอินเดียแต่ปรับปรุงพันธุ์ที่ประเทศบราซิลโดยใช้โคพันธุ์ กีร์ พันธุ์ เนลลอร์ และพันธุ์กูเซราท
     
  • สีและลักษณะประจำพันธุ์ เป็นโคขนาดใหญ่และค่อนข้างสูง ลำตัวมีสีตั้งแต่สีขาวจนถึงสีเทาเกือบดำ สีแดงและแดงเรื่อ ๆ หรือแดงจุดขาวหน้าผากโหนกกว้างค่อนข้างจะยาว หูมีขนาดกว้างปานกลางและห้อยยาวมากตรงปลายใบหูมักจะบิด เขาแข็งแรงมักจะเอนไปข้างหลัง ตะโหนกมีขนาดใหญ่ผิวหนังและเหนียงคอหย่อนยานมาก มีกล้ามเนื้อน้อยกว่า โคพันธุ์ อเมริกันบราห์มัน
     
  • น้ำหนัก เพศผู้โตเต็มที่จะมีน้ำหนักประมาณ 900 - 1,200 กิโลกรัม เพศเมียโตเต็มที่มีน้ำหนักประมาณ 600 - 700 กิโลกรัม
     
  • ข้อดี ทนต่ออากาศร้อนและโรคแมลงเมืองร้อนได้ดี
     
  • ข้อเสีย ไม่เหมาะที่นำมาเลี้ยงเป็นโคเนื้อ ที่ให้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ เนื่องจากเป็นโคขนาดใหญ่การสร้างกล้ามเนื้อช้า การเลี้ยงต้องดูแลเอาใจใส่พอสมควร ไม่เหมาะที่นำไปเลี้ยงปล่อยในสภาพปล่อยป่าหรือปล่อยทุ่ง


    ภาพที่ โคพันธุ์ฮินดูบราซิล (Indu brazil) หรือ (Hindu brazil)
    ที่มา : ยอดชาย ทองไทยนันท์ (2547)
พันธุ์ทาจิมะ (Tajima) 
ประเทศญี่ปุ่น โดยสมาคมผู้เลี้ยงโควางิว ผู้แทนสมาคม ได้น้อมเกล้าถวาย โคสายพันธุ์ทาจิมะให้กับ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และได้พระราชทานให้กรมปศุสัตว์ ในการรีดน้ำเชื้อเพื่อผลิตเป็นน้ำเชื้อแช่แข็ง ที่ศูนย์วิจัยการผสมเทียม จ. ปทุมธานี โดยนำไปผสมเทียมกับโคพันธุ์เรดซินดิ จำนวน 33 ตัว ที่ศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์ลำพญากลาง ในระหว่างปี พ.ศ. 2533 – 2534 และโคลูกผสมที่เกิดขึ้นนำไปผสมกับโคพันธุ์ต่าง ๆ เช่น โคเนื้อพันธุ์อเมริกันบราห์มัน โคนมพันธุ์โฮลสไตล์ฟรีเชียน และได้มอบหมายให้สถานีวิจัยทดสอบพันธุ์สัตว์สกลนครเลี้ยงดู รวมทั้งโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดาขอรับการสนับสนุน เพื่อส่งเสริม อาชีพให้กับเกษตรกรในเขต อ. เมือง จ. กระบี่และจังหวัดสกลนครและที่ศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์ท่าพระ จ. ขอนแก่น
  • ถิ่นกำเนิด ประเทศญี่ปุ่น
     
  • สีและลักษณะประจำพันธุ์ เป็นขนาดเล็ก ลำตัวมีขนหยักลอนสีดำ มีจุดขาวที่เต้านมหรือบริเวณส่วนท้ายของลำตัว หรือลักษณะที่มีขนสีขาวบนผิวหนังสีดำ ความสูงวัดที่อกของ โคเพศเมีย อยู่ระหว่าง 115 - 118 ซม. โคเพศผู้อยู่ระหว่าง 123 - 125 ซม. ส่วนกลางของ ลำตัวจะกางออก ซี่โครงแข็งแรง ขาหลังและลำคอบาง เขาสีขาวอมฟ้าเนื้อเขาละเอียดรีบและกลม ร่างกายได้สัดส่วน ข้อต่อเส้นเอ็นแข็งแรง กีบเท้ามั่นคงเคลื่อนไหวสง่างาม
     
  • น้ำหนัก โคพ่อพันธุ์โตเต็มที่มีอาจน้ำหนักมากกว่า 900 กิโลกรัม
     
  • การประเมินพันธุ์ โคสาวจะผสมพันธุ์และให้ลูกตัวแรกเมื่ออายุ 24 เดือน โคเพศผู้เริ่มใช้ผสมพันธุ์ได้เมื่ออายุ 3 ปีและเมื่ออายุได้ 5 ปี โคพ่อพันธุ์จะสามารถผสมแม่พันธุ์ได้ 80 ตัว ต่อปี
     
  • ข้อดี เป็นโคให้เนื้อมีคุณภาพดีที่สุดในโลกลักษณะเนื้อสีแดง มีความนุ่ม มีไขมันแทรกสูงเป็นไขมันชนิดคุณภาพดี ปลอดภัยต่อสุขภาพของผู้บริโภค ลายเนื้อคล้ายหินอ่อน เนื้อมีรสชาติดีได้รับความนิยมสูง
     
  • ข้อเสีย น้ำหนักของร่างกายและประสิทธิภาพการเปลี่ยนอาหารต่ำ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น