โคพันธุ์โฮลสไตน์ (Holestein-Friesian) |
 | | โคพันธุ์โฮลสไตน์ หรือพันธุ์ฟรีเชี่ยน หรือพันธุ์ขาว-ดำ เป็นโคนมสายพันธุ์ยุโรป (Bos taurus)มีแหล่งกำเนิด
จากทางตอนเหนือของประเทศเนเธอร์แลนด์ เมื่อนำโคพันธุ์นี้ไปเลี้ยงในประเทศอังกฤษ จึงได้ชื่อว่าพันธุ์ฟรีเชี่ยน
(Friesian) แต่ในทวีปยุโรปบางประเทศเรียกโคพันธุ์นี้ว่าพันธุ์ดำและขาว (Black and White) เป็นโคที่นิยมเลี้ยง
และแพร่กระจายอยู่ในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกมากที่สุด สามารถให้ปริมาณน้ำนมมากที่สุดในบรรดาโคนมทุกสายพันธุ์
ในประเทศไทยได้มีการนำเข้ามาเลี้ยงตั้งแต่ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยหน่วยส่งบำรุงกำลังของกองทัพญี่ปุ่น
ต่อจากนั้นก็มีผู้นำเข้ามาจากฮ่องกงและออสเตรเลีย ฯลฯ กรมปศุสัตว์ได้นำโคพันธุ์โฮลสไตน์-ฟรีเชี่ยนมาใช้เป็นพันธุ์
หลักในการผลิตและปรับปรุงพันธุ์โคนมของประเทศหลังจากปี พ.ศ. 2499 เป็นต้นมา |
 | | : ลักษณะประจำพันธุ์ : |
| -มีสีขาวและดำตัดกันอย่างชัดเจน โดยการกระจายสีที่นิยมกันคือ บริเวณขาตั้งแต่ข้อเข่าลงไป ส่วนท้องและ
เต้านมเป็นสีขาว ส่วนศีรษะและลำตัวมีสีขาวสลับดำในสัดส่วนที่เหมาะสม |
| -เป็นโคที่มีขนาดโครงร่าง (frame size) ใหญ่กว่าโคนมพันธุ์อื่น ๆ โคเพศเมียมีลักษณะลำตัวเป็นรูปทรง
สามเหลี่ยม กล่าวคือ ส่วนและไหล่เรียวบาง ส่วนท้ายโดยเฉพาะเต้านมมีขนาดใหญ่ได้รูปทรงงดงาม |
| -สามารถให้น้ำนมโดยเฉลี่ยได้มากกว่า 8,000 กิโลกรัมต่อระยะการให้น้ำนม (305 วัน) และมีไขมันเฉลี่ย
3.5% ขึ้นไป |
| -มีอายุถึงวัยเจริญพันธุ์ (Purberty) เร็วคือ ระหว่าง 12-15 เดือน สามารถผสมพันธุ์ได้ตั้งแต่อายุ 18 เดือน
สามารถให้ลูกตัวแรกและให้น้ำนมได้เมื่ออายุ 2 ปี โตเต็มที่เมื่ออายุ 6 ปี |
| -โคเพศผู้โตเต็มที่มีน้ำหนัก 800-1,000 กิโลกรัม โคเพศเมียหนัก 600-700 กิโลกรัม |  |
-ไม่ทนร้อน ถ้าอุณหภูมิของอากาศสูงเกินกว่า 26 องศาเซลเซียส โคพันธุ์นี้จะหอบ และไม่ค่อยกินอาหาร
ทำให้ปริมาณน้ำนมลดลง |
-ไม่ทนแมลง โดยเฉพาะเห็บ มักป่วยเป็นโรคพยาธิในเม็ดเลือด (Blood parasite)ได้ง่าย
v
v
v
v |
|
| | | | |
| |
โคพันธุ์เจอร์ซี่ (Jersey) |
|
โคพันธุ์เจอร์ซี่ (Jersey) เป็นโคที่ให้นมซึ่งมีไขมันมากที่สุด ถิ่นกำเนิดอยู่ที่ประเทศอังกฤษ ทางเกาะเล็กๆ ใน
ช่องแคบทางชายฝั่งประเทศฝรั่งเศส โคพันธุ์เจอร์ซี่เป็นโคนมพันธุ์ที่เก่าแก่ที่สุดพันธุ์หนึ่ง มีรายงานเกี่ยวกับโคพันธุ์นี้
มาเป็นเวลากว่า 6 ศตวรรษ ได้รับการจดทะเบียนพันธุ์ครั้งแรกในสหรัฐอเมริกา เมื่อปี ค.ศ. 1850 แต่ทว่า
ได้มีการเลี้ยงโคพันธุ์นี้มาก่อนหน้านี้แล้ว โคพันธุ์เจอร์ซี่เป็นโคที่มีความสำคัญต่ออุตสาหกรรมโคนมในสหรัฐอเมริกา
และมีการกระจายสายพันธุ์ไปอย่างแพร่หลายทั่วโลก เป็นโคขนาดเล็ก น้ำหนักแรกเกิดเฉลี่ยประมาณ 25 กิโลกรัม |  |
 | | โคตัวผู้ที่มีความสมบูรณ์จะหนักประมาณ 680 กิโลกรัม และตัวเมียประมาณ 430 กิโลกรัม ปริมาณน้ำนมไม่
มากนัก ประมาณ 3,000 กิโลกรัมต่อระยะการให้นม รสชาติอร่อย ปริมาณไขมันในนมสูงกว่า 5% ปริมาณ
โปรตีน, แคลเซี่ยม และแร่ธาตุที่สำคัญสูงกว่าโคนมสายพันธุ์อื่น ๆ ต่างประเทศจึงนิยมเลี้ยงเพื่อผลิตเนย
เป็นโคที่กินหญ้าเก่ง สามารถเลี้ยงแบบปล่อยทุ่งได้ดีพอสมควร ตาโปน หน้าหัก จมูก พู่หางมีสีดำ รูปร่างกระทัดรัด
สวยงาม สีของตัวเมียจะเป็นสีน้ำตาลปนเหลือง ตัวผู้จะมีสีน้ำตาลค่อนข้างเข้ม |
| | | | |
| |
โคพันธุ์บราวน์สวิส(Brown Swiss) |
 | | โคพันธุ์บราวน์สวิส(Brown Swiss) มีถิ่นกำเนิดในประเทศสวิสเซอร์แลนด์
แต่ได้รับการปรับปรุงพันธุ์ในสหรัฐอเมริกาให้มีรูปทรงเข้าแบบของโคนม
มากขึ้น และให้นมดีขึ้นกว่าแหล่งกำเนิด เป็นโคขนาดใหญ่และมีโครงร่างที่
เก้งก้างกระดูกใหญ่ มีสีเหลืองขาว มีวงขาวรอบปาก,เต้านม,กระหม่อม,
แนวหลัง โคตัวผู้ตัวโตเต็มที่หนักประมาณ 800-900 กิโลกรัม
โคตัวเมียเต็มที่หนักประมาณ 500-600 กิโลกรัม ให้นมเฉลี่ย 4,500
กิโลกรัมต่อระยะการให้นม เปอร์เซ็นต์ไขมันในน้ำนมประมาณ 4%
เปอร์เซ็นต์โปรตีนในน้ำนมประมาณ 3.5% องค์ประกอบในน้ำนมมีมาก
เหมาะสำหรับทำเนยหรือผลิตภัณฑ์นมอื่น ๆ ข้อดีของโคพันธุ์นี้คือ
ทนต่ออากาศร้อนได้ดีเมื่อเทียบกับโคยุโรปพันธุ์อื่น ๆ |  |
| |
โคพันธุ์เรดเดน (Red Dane) |
 | | โคพันธุ์เรดเดน (Red Dane) นำเข้ามาเลี้ยงในเมืองไทยเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2505 โดยความ
ช่วยเหลือของรัฐบาลเดนมาร์ก ที่ฟาร์มโคนมไทย-เดนมาร์ค อ.มวกเหล็ก จ.สระบุรี และได้แพร่กระจายอยู่ในกลุ่ม
โคนมเขตสระบุรีและใกล้เคียงมากพอสมควร เป็นโคที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่และเจ้าเนื้อพอสมควร มีสีแดงเข้มตลอดทั้ง
ตัว เป็นทั้งโคเนื้อและโคนม โคตัวเมียให้นมเฉลี่ย 4,500 กิโลกรัมต่อระยะการให้นม น้ำนมมีเปอร์เซ็นต์ไขมัน
4% ถ้าไม่รีดนมจะให้เนื้อมาก สามารถเลี้ยงให้อ้วน เพื่อขายเป็นโคเนื้อได้ง่าย ปัจจุบันในเมืองไทยไม่ค่อยได้รับ
ความนิยมเท่ากับพันธุ์ขาวดำ |
| |
โคพันธุ์ซิมเมนทอล(Simmental) |
| โคพันธุ์ซิมเมนทอล(Simmental) เป็นโคสายพันธุ์ยุโรป (Bos Taurus) ที่มีถิ่นกำเนิดจากประเทศ
สวิสเซอร์แลนด์ แต่ได้รับการปรับปรุงพันธุ์ในประเทศเยอรมันกว่า 2 ศตวรรษ โดยเน้นไปที่คุณสมบัติของความเป็น
โคทวิประสงค์ (Dual purpose) กล่าวคือ เป็นโคพันธุ์ที่มีโครงร่างใหญ่ สามารถให้ทั้งเนื้อและนมที่ดี
และในระยะ 30 ปีที่ผ่านมาได้รับความนิยมจากประเทศสหรัฐอเมริกา และแคนาดานำไปเลี้ยงเป็นสายพันธุ์หลักพันธุ์
หนึ่งของประเทศและแพร่พันธุ์ในเชิงพาณิชย์อย่างกว้างขวางสู่ภูมิภาคต่าง ๆ จนอาจกล่าวได้ว่า ทุกวันนี้มีสายพันธุ์ของ
โคซิมเมนทอลทั้งเป็นพันธุ์แท้และลูกผสมแพร่กระจายอยู่ทั่วโลกมากที่สุดพันธุ์หนึ่ง |  |
 | | : ลักษณะประจำพันธุ์ : |
-โครงร่างเป็นสี่เหลี่ยม ช่วงลำตัวยาวและลึก บั้นท้ายใหญ่ ช่วงขาสั้นและแข็งแรง |
-ลำตัวมีสีแดง (น้ำตาล-แดงเข้ม ไปจนถึงสีฟางหรือเหลืองทอง) เป็นส่วนมากของร่างกาย โดยมีสีขาวกระจาย
แทรกอยู่ทั่วไปตามส่วนอก ท้อง และขา |
| -ศีรษะเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมคางหมู ใบหน้าเป็นสีขาว และมักมีสีแดงรอบนัยน์ตา |
| -สามารถให้น้ำนมเฉลี่ย 5,095 กิโลกรัมต่อระยะการให้นม เปอร์เซ็นต์ไขมันในน้ำนมประมาณ 3.99% โปรตีนในน้ำนมประมาณ 3.99% อัตราการ เจริญเติบโตตั้งแต่แรกเกิดเมื่อได้รับการเลี้ยงและการจัดการที่ดีประมาณ 1,259 กรัมต่อวัน |
| -อายุถึงวัยเจริญพันธุ์ (Puberty) ประมาณ 18-20 เดือน |
-โคตัวผู้โตเต็มที่มีน้ำหนักประมาณ 1,100-1,300 กิโลกรัม โคตัวเมียโตเต็มที่หนักประมาณ 600-850 กิโลกรัม |
| | | | |
| |
โคพันธุ์ซาฮีวาล (Sahival) |
| โคพันธุ์ซาฮีวาล (Sahival) เป็นโคนมที่ดีที่สุดของอินเดีย ถิ่นกำเนิดอยู่ในแคว้นปัญจาบ ประเทศปากีสถาน
รูปร่างคล้ายเรดซินดี้ แต่มีขนาดใหญ่กว่า ลำตัวยาวและลึก ค่อนข้างเจ้าเนื้อ เขาสั้น ตัวมีสีแดง และมีแต้มสีน้ำตาลขาว
ทั่วไป เขาสั้นซึ่งยาวประมาณ 10 เซนติเมตร คอสั้น หูใหญ่และพับตก เหนียงคอหย่อนยาน ตะโหนกใหญ่และมักเอียง
ข้าง บั้นท้ายใหญ่และกว้าง หางยาวจนพู่หางระพื้นดิน เต้านมใหญ่และมักหย่อน เป็นโคขนาดปานกลาง ตัวผู้มีน้ำหนัก
ประมาณ 500-600 กิโลกรัม ตัวเมียหนักประมาณ 400-450 กิโลกรัม แม่โคให้นมเฉลี่ย 2,000
กิโลกรัมต่อระยะการให้นม และมีเปอร์เซ็นต์ไขมันในน้ำนม 4.3% ให้ลูกครั้งแรกเมื่ออายุประมาณ 3 ปี |  |
| |
โคพันธุ์เรดซินดี้ (Red Sindhi) |
 | | โคพันธุ์เรดซินดี้ (Red Sindhi) เป็นโคที่มีชื่อเสียงของประเทศอินเดียและปากีสถาน มีขนาดค่อนข้างเล็ก
ตัวผู้หนักประมาณ 450-500 กิโลกรัม ตัวเมียหนัก 300-350 กิโลกรัม ลักษณะที่แตกต่างจากซาฮีวาลคือ
รูปร่างจะหนาแน่นกว่า บั้นท้ายจะกลมกว่า ลูกโคเมื่อเกิดมีน้ำหนักตัวประมาณ 20 กิโลกรัม รูปร่างค่อนข้างลึกและ
หนา บั้นท้ายกลมและลาดโค้ง สีแดงทั้งตัว บางตัวสีอ่อนจนเกือบเป็นสีขุ่น อาจมีจุดหรือด่างขาวที่เหนียงคอ
และหน้าผากหัวและหน้าผากกว้างใหญ่ โคนเขาหนา หูยาวปานกลางและพับตก มีหนังหลวมมาก พื้นท้องและเหนียงคอ
หย่อนมาก เต้านมใหญ่แต่ค่อนข้างหย่อน หัวนมค่อนข้างใหญ่ ตะโหนกใหญ่แต่ไม่เท่าพันธุ์ซาฮีวาล แม่โคให้นมเฉลี่ยได้
ประมาณ 1,500-2,000 กิโลกรัมต่อระยะการให้นม หรือให้นมประมาณวันละ 5-8กิโลกรัมเริ่มให้นมช้า
คือ เริ่มให้นมเมื่ออายุ 3 ปีขึ้นไป ทนต่ออากาศร้อนได้ดี ข้อเสียของโคพันธุ์นี้คือ ในการให้นมต้องให้ลูกโคกระตุ้นเร้า
ให้แม่โคปล่อยน้ำนม เต้านมเป็นรูปกรวยและหัวนมรวมเป็นกระจุก ทำให้รีดนมได้ยาก ขนาดของหัวนมใหญ่เกินไป
ถ้าทำการหย่านมลูก แม่โคจะหยุดให้นม |
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น